"ความท้าทายของการปรับปรุงบ้าน คือ ต้องทำให้
ไม่รู้สึกของความแตกต่างระหว่างส่วนต่อเติมและส่วนของเดิม"
ปัญหาของห้องนั่งเล่นในบ้านหลังนี้คือ มีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ลึกสุดของบ้าน ทำให้แสงไม่สามารถส่องถึงห้องนี้
ความท้าทายของการปรับปรุงห้องนั่งเล่นนี้ คือ การทำยังไงให้พื้นที่ส่วนนี้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่ถูกปรับปรุงกับพื้นที่เดิม อีกทั้งจะปรับปรุงยังไงโดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิม ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่ผู้ออกแบบหรือสถาปนิกต้องนำมาแก้ไข
สิ่งที่สถาปนิกได้ทำการปรับปรุงเป็นส่วนแรก คือ ส่วนที่เชื่อมต่อของพื้นที่ส่วนเก่าและพื้นที่ส่วนใหม่ให้ไม่รู้สึกถึงความต่าง โดยการกรุผนังและฝ้าเพดานบริเวณหน้าห้องน้ำด้วยไม้ระแนงสีดำ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อส่วนของพื้นที่เก่าและพื้นที่ใหม่แล้ว พื้นที่บริเวณนี้ยังช่วยปรับเปลี่ยนความรู้สึกในขณะที่เดินผ่านโถงทางเดินที่มีความสูงค่อนข้างเตี้ยและมืด ไปยังส่วนของห้องนั่งเล่นที่มีฝ้าเพดานที่สูงขึ้นและห้องมีความสว่างมากขึ้น
เทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาขนาดพื้นที่ห้องมีขนาดจำกัด คือ การนำฟังก์ชั่นของหลายๆห้องมารวมอยู่ในห้องเดียวกัน อย่างเช่น ห้องนั่งเล่นนี้ได้รวม ห้องนั่งเล่น, ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร ไว้ในห้องเดียวกัน ทำให้ห้องนี้มีขนาดกว้างมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นห้องนั่งเล่นนี้ยังสามารถเปิดประตูกระจกออกไปเชื่อมต่อกับสวนหลังบ้านให้รู้สึกเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน นอกจากทำให้ผู้อยู่อาศัยได้เห็นสวนได้กว้างขึ้นแล้ว เค้ายังรู้สึกว่าได้นั่งอยู่ในห้องที่มีขนาดกว้างมากขึ้นอีกด้วย
หัวใจของห้องนั่งเล่นนี้ คือ ความเรียบง่าย โดยสถาปนิกได้ใส่ใจตั้งแต่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้มีความเรียบง่ายมากที่สุด, การเลือกโทนสีของห้อง, วัสดุที่ใช้ รวมไปถึงการใส่ใจเรื่องการนำพลังงานทดแทนมาใช้ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้บ้านหลังนี้มีความเรียบง่าย สบายตา และที่สำคัญที่สุดคือ การมีชีวิตชีวา
Cafe'ine Tips
![]() |
การออกแบบให้ห้องกว้างขึ้น คุณต้องนำฟังก์ชั่นหลายๆห้องมารวมกันให้ อยู่ในห้องเดียวกัน เพื่อจะได้พื้นที่ห้องมีขนาดใหญ่ขึ้น |
![]() |
อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้ห้องดูกว้างขึ้น คือการเลือกโทนสีขาวๆ และวัสดุที่ เลือกใช้ต้องให้ความรู้สึกอบอุ่น เช่น ไม้สีอ่อนๆ อีกทั้งการออกแบบ ต้องมีลักษณะเรียบง่ายด้วย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น